1. ในมุมมองของธุรกิจนั้น การสร้างระบบสารสนเทศควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง จงอธิบาย
การสร้างระบบสารสนเทศควรคำนึงถึงองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 5 ข้อ ดังนี้
- บุคคล (People) จำเป็นต่อการทำงานของทุกระบบสารสนเทศ รวมถึงผู้ใช้งานและผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ
* ผู้ใช้งาน (End User / User / Clients) เป็นผู้ที่ใช้ระบบหรือผลิตภัณฑ์ของระบบสารสนเทศ ผู้ใช้เหล่านี้อาจเป็นนักบัญชี พนักงานขาย วิศวกร เสมียน ลูกค้า หรือผู้จัดการ เป็นต้น
* ผู้เชี่ยวชาญสารสนเทศ (IS Specialists) บุคคลที่พัฒนาและควบคุมระบบสารสนเทศ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบด้วย อุปกรณ์กายภาพ (Physical Devices) และวัตถุดิบที่ใช้ในการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งนอกจากเครื่องจักร (Machine) เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ แล้ว ยังรวมถึงสื่อข้อมูล (Data Media) ซึ่งเป็นวัตถุที่สามารถบันทึกข้อมูลจากกระดาษลงในจานแม่เหล็กได้ ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ของระบบสารสนเทศมีดังนี้
* ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Systems) ประกอบ ด้วย หน่วยประมวลผลกลางที่ประกอบด้วยไมโครโปรเซลเซอร์และอุปกรณ์รอบข้างที่หลาก หลายเชื่อมต่อกัน เช่น ระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ระดับกลาง และระบบคอมพิวเตอร์เมนเฟรม
* อุปกรณ์คอมพิวเตอร์รอบข้าง (Computer Peripherals) เป็นอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์สำหรับการป้อนข้อมูลและออกคำสั่ง จอภาพหรือเครื่องพิมพ์สำหรับแสดงสารสนเทศ จานแม่เหล็กหรือจานนำแสงสำหรับบันทึกข้อมูล
- ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคำสั่งของการประมวลผลทั้งหมด ทั้งชุดคำสั่งของการปฏิบัติงานที่เรียกว่า โปรแกรม (Programs) ซึ่งควบคุมการทำงานโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และชุดคำสั่งสำหรับการประมวลผลสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ ที่เรียกว่า กระบวนคำสั่ง (Procedures) ได้แก่
* ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เช่น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) ซึ่งควบคุมและสนับสนุนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
* ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็น โปรแกรมสั่งประมวลผลสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์เฉพาะอย่างโดยผู้ใช้ เช่น โปรแกรมวิเคราะห์การขาย โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมประมวลผลคำ เป็นต้น
* กระบวนคำสั่ง (Procedure) เป็นคำสั่งปฏิบัติการสำหรับผู้ที่จะใช้ระบบสารสนเทศ เช่น คำสั่งสำหรับการจัดฟอร์มกระดาษ หรือการใช้ซอฟต์แวร์โปรแกรมสำเร็จรูป
- ข้อมูล (Data) เป็นมากกว่าวัตถุดิบของระบบสารสนเทศ เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งขององค์กร ดังนั้นควรมีทรรศนะต่อข้อมูลว่าเป็นทรัพยากรที่ต้องมีการจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ในองค์กร ข้อมูลอาจอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งข้อมูลตัวอักขระที่ประกอบด้วยตัวเลขและตัวอักษร ข้อมูลแบบถ้อยความ (Text) ประกอบด้วยประโยคและวรรคตอนที่ใช้ในการเขียนเพื่อสื่อสาร ข้อมูลภาพ (Image) เช่น รูปทรงและเครื่องหมายแบบกราฟิก และข้อมูลเสียงไม่ว่าเสียงพูดหรือเสียงอื่นๆ ข้อมูลของระบบสารสนเทศโดยปกติจะรวบรวมเป็น
* ฐานข้อมูล (Databases) ที่เก็บข้อมูลที่ประมวลผลและจัดระเบียบแล้ว
* ฐานความรู้ (Knowledge Bases) ที่เก็บความรู้ในรูปแบบหลากหลาย เช่น ข้อเท็จจริง กฎระเบียบ และกรณีศึกษาตัวอย่างเกี่ยวกับความสำเร็จของธุรกิจ เป็นต้น
ข้อมูลกับสารสนเทศ คำว่าข้อมูล (Data) เป็นพหูพจน์ของคำว่า Datum แต่ สามารถใช้ได้ทั้งนามเอกพจน์และพหูพจน์ ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงดิบหรือข้อสังเกต โดยปกติจะเกี่ยวกับปรากฏการณ์หรือรายการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ยานอวกาศลงจอดหรือยอดขายรถยนต์ทำให้เกิดข้อมูลมากมายที่อธิบายถึงเหตุการณ์ ของมัน ถ้าเจาะจงลงไปให้มากกว่านี้อาจกล่าวได้ว่า ข้อมูลจะเป็นสิ่งที่วัดคุณสมบัติของเอนทิตี้ (เช่น คน สถานที่ สิ่งของ และเหตุการณ์)
ตัวอย่าง การที่ยานอวกาศลงจอดทำให้เกิดข้อมูลเป็นจำนวนมาก ข้อมูลการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องรับรู้ (Sensor) จำนวน นับพันถูกแปลงเป็นตัวเลขและข้อมูลแบบถ้อยความโดยคอมพิวเตอร์ เสียงและข้อมูลภาพถูกจับผ่านวีดีทัศน์ และเครื่องเฝ้ารับสัญญาณวิทยุโดยตัวควบคุมการทำงาน เช่นเดียวกับการซื้อตั๋วรถยนต์หรือเครื่องบินทำให้เกิดข้อมูลมากมายด้วย เหมือนกัน ให้ลองนึกถึงคุณสมบัติของรถยนต์และการเช่าซื้อ หรือรายละเอียดของการสำรองที่นั่งสายการบิน
คนทั่วไปมักเรียกข้อมูล (Data) และสารสนเทศ (Information) สลับกันไปมา อย่างไรตามควรมองข้อมูลเป็นทรัพยากรวัตถุดิบที่ใช้ในการประมวลผลเพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ สารสนเทศสำเร็จรูป สารสนเทศอาจนิยามได้ว่าเป็น ข้อมูลที่ได้แปลงรูปให้อยู่ในรูปที่อรรถอธิบายความหมายและมีประโยชน์สำหรับ ผู้ใช้ ดังนั้นข้อมูลมักจะขึ้นอยู่กับการประมวลผลคุณค่าเพิ่ม เรียกว่า การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) หรือ การประมวลผลสารสนเทศ (Information Processing) ซึ่ง (1) เป็นการรวมกลุ่ม จัดดำเนินการ และจัดระเบียบ (2) เนื้อหาได้ถูกวิเคราะห์และประเมินผล (3) ถูก จัดวางเป็นอรรถอธิบายที่เหมาะสำหรับการใช้งาน ดังนั้นจึงควรจะมีทรรศนะต่อสารสนเทศว่าเป็น ข้อมูลที่ได้ถูกประมวลผลแล้วซึ่งถูกจัดวางเป็นอรรถอธิบายที่มีค่าต่อผู้ใช้ เฉพาะราย
- เครือข่าย (Network Resources) สื่อสารโทรคมนาคมไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต กลายเป็นส่วนสำคัญสำหรับความสำเร็จในการปฏิบัติงานทุกประเภทขององค์กรและ ระบบสารสนเทศ เครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ การประมวลผลสื่อสารและอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมโยงระหว่างกันด้วยสื่อการติดต่อ สื่อสารและควบคุมด้วยซอฟต์แวร์สื่อสาร แนวความคิดเรื่องเครือข่ายที่เน้นเครือข่ายการติดต่อสื่อฐานเป็นส่วนประกอบ พื้นฐานของทรัพยากรของทุกระบบสารสนเทศ ทรัพยากรเครือข่ายประกอบด้วย
* สื่อการติดต่อสื่อสาร (Communications Media) ตัวอย่างเช่น สายคู่บิดเกลียว/สายทวิชแพ (Twisted-pair) สายโคแอคเซียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง/สายไฟเบอร์ออฟติค (Fiber-optic) ระบบไมโครเวฟ และระบบการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม
* การสนับสนุนเครือข่าย (Network Suppo rt) ประกอบ ด้วย บุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลที่สนับสนุนการปฏิบัติงานและการใช้งานเครือข่ายสื่อสารโดยตรง ตัวอย่างของหน่วยประมวลผลสื่อสาร เช่น โมเด็ม และหน่วยประมวลผลเชื่อมโยงเครือข่าย และซอฟต์แวร์ควบคุมการสื่อสาร เช่น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย และโปรแกรมอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์
2. ท่านคิดว่า การเรียนแบบ Virtual Classroom หรื E-learning มีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง
ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของ หลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน
ข้อดี | ข้อเสีย |
1. เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล 2. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน 3. ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน 4. ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี 5. ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Web board, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ | 1. ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน 2. ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมณ์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง 3. ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน 4. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้ |
3. สถาบันการศึกษาได้รับประโยชน์อะไรจากการใช้ระบบ E-Learning
1. ลดค่าใช้จ่ายของสถาบันการศึกษา เช่น ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย, ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
2. เพิ่มความยืดหยุ่นในด้านเวลา และสถานที่ ทำให้สามารถรับนักศึกษาเข้าเรียนได้ไม่จำกัด
3. ได้รับการการถ่ายทอดอย่างถูกต้อง และน่าสนใจ
4. ขยายโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
5. การติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนการได้เรียนรู้เทคโนโลยีควบคู่ไปกับการเรียนในบทเรียน
2. เพิ่มความยืดหยุ่นในด้านเวลา และสถานที่ ทำให้สามารถรับนักศึกษาเข้าเรียนได้ไม่จำกัด
3. ได้รับการการถ่ายทอดอย่างถูกต้อง และน่าสนใจ
4. ขยายโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
5. การติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนการได้เรียนรู้เทคโนโลยีควบคู่ไปกับการเรียนในบทเรียน
4. ท่านต้องการเรียนในระบบ E-Learning หรือไม่
เนื่องจาก e-Learning สามารถเรียน Online ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถจัดทำเป็นชุด CD เพื่อใช้ศึกษาในลักษณะ Offline หรือมีรูปแบบการนำเสนอผ่าน Web โดยมีองค์ประกอบที่น่าสนใจ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ ซึ่งช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามความต้องการ และยังสามารถค้นคว้าหาความรู้อื่นๆ เพิ่มเติมได้ในขณะเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ ICQ, Microsoft Messenger และสมุดเยี่ยม ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การเรียนในระบบ e-Learning จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจและต้องการเรียนในระบบนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น