เทคโนโลยี Hardware และ Software สำหรับองค์การยุคดิจิตอล
องค์กรดิจิตอล (Digital Firm) คือ องค์กรที่เกือบทุกส่วนขององค์กร โดยเฉพาะในส่วนที่มีการติดต่อกับลูกค้า บริษัทผู้สนับสนุนวัตถุดิบ และพนักงาน เป็นการบริหารจัดการในระบบดิจิตอล กระบวนการหลักทางธุรกิจ สามารถทำให้ประสบผลสำเร็จได้โดยการใช้เครือข่ายดิจิตอล ที่ครอบคลุมกว้างขวางทั่วทั้งองค์กร หรือเชื่อมโยงเข้ากับองค์กรอื่นจำนวนมาก
โลกของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันได้นำ ระบบสารสนเทศ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ เข้ามาประสานการทำงานร่วมกันในการสร้างโอกาสการดำเนินธุรกิจแบบใหม่สำหรับองค์กรทุกระดับ ระบบสารสนเทศในธุรกิจแบบใหม่ ช่วยให้องค์กรได้รับข้อมูลข่าวสารอยู่ไกลออกไป ช่วยนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ ช่วยปรับโครงสร้างและขั้นตอนการทำงาน และอาจช่วยเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้
ระบบสารสนเทศ (Information System) ในทางด้านเทคนิค หมายถึง กลุ่มของระบบงานที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์หรือตัวอุปกรณ์ และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บและแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมภายในองค์กร นอกจากนี้ยังช่วยบุคลากรในองค์กรนั้นในการประสานงาน การวิเคราะห์ปัญหา การสร้างแบบจำลองวัตถุที่มีความซับซ้อน และการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
1. สภาวะแวดล้อมของการแข่งขันในการดำเนินธุรกิจ เน้นรวดเร็ว ไม่ต้องเข้าพบ เน้นบริการสังคม เป็นพันธมิตรทางการค้า
2. ระบบเศรษฐกิจโลก ค้าขายกันทั่วโลก ติดต่อการค้าได้ตลอดเวลา
3. การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ ขยายฐานการผลิตไปประเทศที่ค่าแรงต่ำ เน้นอุตสาหกรรม มากกว่า การทำมือ
4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร การบริหารที่ยืดหยุด ไม่ติดระบบเดิม เน้นผลงานมากกว่า กฎเกณฑ์
5. การเกิดขึ้นขององค์กรดิจิตอล นำเทคโนโลยีมาช่วยการทำงาน
เป้าหมายของระบบสารสนเทศ
1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Increase Work Efficiency) เช่น หน่วยงานที่มีระบบสารสนเทศที่ดี จะสามารถเพิ่มผลผลิต และประสิทธิภาพของงานได้
2. เพิ่มผลผลิตให้แก่องค์กร (Increase Productivity)
3. เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า (Increase Customer Service Quality)
4. สามารถนำสารสนเทศมาวิเคราะห์ เพื่อหากลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจได้ (Strategic Plan) เช่น การมี IT ที่ดีกว่าคู่แข่งทำให้เราได้เปรียบคู่แข่ง
5. สามารถประเมิน/ คาดเดาสถานการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ (Forecast/ Project)
6. ทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจในการให้บริการ (Increase Customer’s Satisfaction)
บทบาทเบื้องต้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามมาตรฐานของธุรกิจ การบริการลูกค้า การปฏิบัติงาน สินค้า และกลยุทธ์ทางการตลาด จะเห็นได้ว่าปัจจุบันคอมพิวเตอร์นั้นสามารถสนับสนุนการใช้งานได้ทั้งที่โต๊ะ ทำงาน ห้างร้าน คลังสินค้า หรือแม้กระทั้งในกระเป๋าเอกสาร เทคโนโลยีสารสนเทศจึงกลายมาเป็นส่วนประจำวันของชีวิตธุรกิจ จากรูปที่ 1 จะแสดงสาเหตุเบื้องต้นสำหรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ แบ่งออกเป็น 3 บทบาทสำคัญ คือ
- สนับสนุนการปฏิบัติงานของธุรกิจ
- สนับสนุนการบริหารการตัดสินใจ
- สนับสนุนกลยุทธ์ที่ทำให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง
รูปที่ 1 บทบาทหลักของระบบสารสนเทศ ซึ่งสนับสนุนการปฏิบัติงานของธุรกิจ การบริหารการตัดสินใจ และกลยุทธ์ที่ทำให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง |
การเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Increasing Value of IT)
การก้าวเดินอย่างรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจทุกวันนี้ ทำให้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ที่จะช่วยดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย อันประกอบไปด้วย การประมวลผลระหว่างเครือข่าย การใช้เครือข่ายระหว่างองค์กร การสื่อสารไร้พรหมแดน การยกเครื่องทางธุรกิจ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อความเหนือกว่าคู่แข่งขัน นั่นเป็นสาเหตุหลักว่าทำไมทุกวันนี้ธุรกิจจึงต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้คอมพิวเตอร์ระหว่างเครือข่าย (Internetworking of Computing)
การใช้คอมพิวเตอร์ระหว่างเครือข่าย เป็นหนึ่งในทิศทางที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ จากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสู่เครื่องเมนเฟรมขนาดใหญ่ กลายเป็นระบบเครือข่ายหรือการเชื่อมต่อภายใน อันได้แก่ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต และเครือข่ายโทรคมนาคมอื่นๆ เครือข่ายนี้กระจายความสามารถให้คอมพิวเตอร์ในการจัดการภายในองค์กรได้ทั้ง หมด โดยทำงานแบบแม่ข่ายลูกข่ายหรือผู้รับบริการผู้ให้บริการหรือไคลเอ้นท์เซิร์ฟ เวอร์ (Client/S erver) ที่เชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายของผู้ใช้ (Client) เข้ากับแม่ข่าย (Server) เพื่อการใช้ข้อมูล โปรแกรม และฐานข้อมูลร่วมกัน ในบางระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางหรือเครื่องเมนเฟรมอาจจะมีการทำงานเป็น ซุปเปอร์เซิร์ฟเวอร์ (Superserver)
รูปที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงานแบบแม่ข่ายลูกข่าย |
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถให้ผู้ใช้ (End Users) และกลุ่มผู้ใช้ (Workgroups) สื่อสารและร่วมกันทำงาน โดยใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งในการเติบโตนั้นอาศัยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และทรัพยากรของอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายอื่นๆ ที่มีการเน้นในส่วนที่สำคัญของแนวความคิด สำหรับการร่วมกันใช้งานของหลายๆ ผู้ใช้ “ เครือข่ายก็คือคอมพิวเตอร์ (The Network is the Computer)” การประมวลผลเครือข่าย (Network Computing) หรือศูนย์กลางเครือข่าย (Network Centric) เป็นแนวความคิดที่เห็นเครือข่ายเป็นเหมือนศูนย์กลางของทรัพยากรสำหรับ คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งสถาปัตยกรรมนี้จะเป็นการประมวลผลของศตวรรษหน้า
รูปที่ 3 แสดงให้เห็นถึงการทำงานในเครือข่าย คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network Computer) มีบราวเซอร์ (Browser) อยู่ในส่วนของการทำงานของผู้ใช้ สำหรับการปฏิบัติงานที่ใช้โปรแกรมในการทำงานขนาดเล็กจะเรียกว่า แอบเพลท (Applets) เครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network Computer) ก็คือ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีไดร์ฟ A: (Floppy Disk) หรือไม่มีฮาร์ดดิสก์
แนวโน้มที่จะลดขนาด (Downsizing) ของระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่โดยการใช้ระบบเครือข่ายแม่ข่ายลูกข่าย เช่น เครือข่ายภายในพื้นที่ (Local Area Networks :LANs) ที่ใช้การต่อเชื่อมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์และแม่ข่ายแทนการใช้เครื่อง เมนเฟรมขนาดใหญ่กับเครื่องของผู้ใช้หลายๆเครื่อง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนและต้นทุนในการติดตั้งซอฟต์แวร์ใหม่แทนที่ ซอฟต์แวร์เก่าหรือระบบสารสนเทศดั่งเดิมที่ใช้เครื่องเมนเฟรมในการปฏิบัติงาน ที่เรียกว่า ระบบมรดกหรือระบบเก่า (Legacy System) ซึ่งในระบบเครือข่ายแม่ข่ายลูกข่ายจะมีความประหยัดและยืดหยุ่นได้มากกว่า ระบบมรดก
รูปที่ 3 ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานบนเครือข่าย |
เครือข่ายระหว่างองค์กร (The Internetworked Enterprise)
การเปลี่ยนแปลงหลักที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทำให้ผู้บริหาร สถาบันการศึกษา และนักเทคโนโลยีเห็นพ้องต้องกันคือ การเติบโตของอินเทอร์เน็ตที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีและการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลกับธุรกิจ สังคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ธุรกิจในปัจจุบันกลายเป็นเครือข่ายระหว่างองค์กร โดยใช้อินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายที่ทำงานคล้ายกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตภายในบริษัท ( อินทราเน็ต) และยังมีการส่งผ่านระหว่างบริษัทหรือไปยังหุ้นส่วน ( เอ็กซ์ทราเน็ต) รวมถึงเครือข่ายอื่นๆ ด้วย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือที่รู้จักกันในชื่อ E-Commerce เป็นการซื้อการขาย การตลาด การบริการสินค้า งานการให้บริการ และข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่าย โดยใช้อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต หรือเครือข่ายอื่น ในทุกขั้นตอนของการค้าขาย รวมทั้งสื่อมัลติมีเดียในการโฆษณา ข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้า การช่วยเหลือลูกค้าบน WWW ความปลอดภัยของระบบกลไกการจ่ายเงิน ตัวอย่างของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การใช้เว็บเพจที่มีสื่อมัลติมิเดียแสดงรายการสินค้าบนอินเทอร์เน็ตมีเอ็กซ์ ทราเน็ตที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงในฐานข้อมูลรายการสินค้า และใช้อินทราเน็ตรวมกันของพนักงานขาย
ระบบการทำงานร่วมกัน (Enterprise Collaboration Systems) จะเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือสำหรับการทำงานเป็นกลุ่ม (Groupware Tools) เพื่อรองรับการสื่อสาร การประสานงาน และการทำงานร่วมกันของสมาชิกในเครือข่าย ตัวอย่างเช่น พนักงานและที่ปรึกษาภายนอกอาจมีการทำงานร่วมกันทางอินทราเน็ต หรือใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งอีเมล์ การประชุมทางไกล (Videoconferencing) การสนทนาในกลุ่มโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อมัลติมีเดียบนเว็บเพจ
ยุคโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Globalization and IT)
ในหลายๆ บริษัทอยู่ในขั้นตอนการทำงานของยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) กลายเป็นองค์กรระหว่างเครือข่ายโลก (Internetwork Global Enterprise) ตัวอย่างเช่น การขยายตลาดออกไปทั่วโลกสำหรับสินค้าและบริการ การร่วมเป็นพันธมิตรกับหุ้นส่วนทั่วโลก และการต่อสู้กับคู่แข่งเพื่อลูกค้าจากทุกมุมโลก
การปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Reengineering: BPR)
- เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนที่ความพยายามของมนุษย์ มันจะทำงานในขั้นตอนการทำงานอย่างอัตโนมัติ
- เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มพูนความพยายามให้มนุษย์ มันจะเป็นการให้ข้อมูลกับงานหรือขั้นตอนการทำงาน
- เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ มันจะทำการปรับเปลี่ยนชุดของงานหรือขั้นตอนการทำงาน
หลายปีที่ผ่านมา มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจ ทั้งในขั้นตอนการทำงานและสนับสนุนการวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนโครงสร้างขั้นตอนการทำงานใหม่หรือการปรับรื้อกระบวนการทาง ธุรกิจ จะเป็นตัวอย่างของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือขั้นตอนการพัฒนาสินค้าใหม่ และขั้นตอนการทำงานตามคำสั่งของลูกค้าให้บรรลุเป้าหมาย เป็นต้น
ไมเคิล แฮมเมอร์ ผู้นำในการปรับเปลี่ยน กล่าวว่า “คิดใหม่ ออกแบบใหม่อีกครั้งสำหรับขั้นตอนการทำงานของธุรกิจเพื่อให้ประสบความสำเร็จ เช่น ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว”
รูปที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถช่วยในการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจได้อย่างไร |
รูปที่ 5 เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจในหลายๆระดับของธุรกิจได้อย่างไร |
เทคโนโลยีสารสนเทศกับความได้เปรียบคู่แข่งขัน (Competitive Advantage with IT)
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคโลกาภิวัตน์ และการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจช่วยให้บริษัทมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ในตลาด เป็นกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (Strategic Information Systems) ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า บริการ ขั้นตอนการทำงาน และ ความสามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจนั้นเหนือกว่าคู่แข่งขัน (Competitive Forces) ในการแข่งขันนั้น สิ่งที่เผชิญไม่ใช่แค่เพียงความแข็งแกร่งของผู้แข่งขันแต่ยังเป็นที่ตัว ลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า ความสามารถในการเข้าถึงอุตสาหกรรม และบริษัทที่เสนอตัวแทนสำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ ซึ่งบทบาทหลักสำหรับการแข่งขันในแต่ละกลยุทธ์ อาจประกอบไปด้วย
กลยุทธ์ด้านต้นทุน (Cost Strategies) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ต้นทุนในการผลิตต่ำลง ลดต้นทุนสำหรับลูกค้าและผู้จัดหาสินค้า เช่น การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยอุตสาหกรรม (Computer-aided Manufacturing systems) เพื่อลดต้นทุนในการผลิต หรือการสร้างเว็บไซท์สำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีต้นทุนทางการตลาดที่ ต่ำ
กลยุทธ์ด้านความแตกต่าง (Differentiation Strategies) พัฒนาวิธีการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้สินค้าหรือบริการมีความแตกต่างจากคู่แข่ง ขัน ดังนั้นลูกค้าของคุณจะได้รับสินค้าหรือบริการที่มีรูปลักษณ์ที่พิเศษหรือได้ รับผลประโยชน์มากกว่า เช่น การเตรียมให้บริการลูกค้าที่รวดเร็วและสมบูรณ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือใช้ ระบบของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Marketing Systems) เพื่อนำเสนอลูกค้าแต่ละรายเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่พวกเขาสนใจ
กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม (Innovation Strategies) นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างสินค้าหรือบริการพิเศษเฉพาะ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานในธุรกิจของคุณ เช่น ลูกค้าสามารถที่จะเข้ามาในเว็บไซท์เพื่อออกแบบหรือเลือกสินค้าและบริการได้ เอง
ตัวอย่างหลากหลายในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยให้ธุรกิจมีความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขันโดยใช้กลยุทธ์ ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยให้ธุรกิจมีความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น